สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 กันยายน 2562

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 อนุมัติในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ วงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ซึ่งได้กำหนดชนิดข้าว ราคา (ณ ความชื้นไม่เกิน 15%) และปริมาณประกันรายได้
ไม่เกินครัวเรือนละ 40 ไร่ โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
 
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
 
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ใช้สิทธิ์ได้ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,484 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,320 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,912 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,949 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,050 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 35,930 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,550 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,251 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,984 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,904 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,722 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,026 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.3629
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          ไทย-ฟิลิปปินส์
          รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวรัชดา ธนาดิเรก) เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์รายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบว่า เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 ทางการของฟิลิปปินส์ได้ประกาศยกเลิกการจำกัดปริมาณการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศและยกเลิกการประมูลขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาฟิลิปปินส์ประสบปัญหาข้าวขาดตลาด ทำให้ข้าวภายในประเทศมีราคาสูงมาก
          การยกเลิกดังกล่าว จะนำไปสู่การซื้อขายข้าวอย่างเสรีในฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของผู้ส่งออกข้าวไทยที่จะส่งไปขายยังฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น โดยอาศัยความได้เปรียบจากการเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวหลัก และยังเป็นประเทศหนึ่งในสมาชิกของอาเซียน จึงเสียภาษีนำเข้าข้าวเพียงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่อยู่นอกอาเซียนต้องเสียภาษีร้อยละ 50 และยังถูกจำกัดปริมาณนำเข้าข้าวได้สูงสุดไม่เกิน 350,000 ตัน
          ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่นำเข้าข้าวในอันดับต้นๆ ของโลก โดยในช่วงปี 2557-2561 พบว่า ไทยชนะ
การประมูลนำเข้าข้าวแบบจีทูจีในฟิลิปปินส์ถึง 6 ครั้ง คิดเป็นปริมาณการส่งออกข้าวรวม 1.1 ล้านตัน หรือเป็นมูลค่า 16,000 ล้านบาท ดังนั้น เมื่อฟิลิปปินส์เปิดเสรีการซื้อขายข้าวแล้ว จึงมั่นใจว่าจะเป็นโอกาสดีสำหรับไทยที่จะส่งออกข้าวไปฟิลิปปินส์ได้มากขึ้น
          ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, www.ryt9.com
 
          กัมพูชา
          สำนักงานบริการด้านการส่งออกข้าวของกัมพูชา รายงานว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ กัมพูชาส่งออกข้าวไปจีนมากขึ้น 132,947 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 54 ทำให้จีนยังคงเป็นประเทศที่ซื้อข้าวจากกัมพูชามากที่สุดในช่วงดังกล่าว และปริมาณข้าวส่งออกจากกัมพูชาทั้งหมดเป็นข้าวสารที่ส่งไปยังจีนถึงร้อยละ 39 ขณะที่กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังตลาดยุโรปได้เพียง 120,061 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 47 สำหรับภาพรวมการส่งออกข้าวของกัมพูชานั้น ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ กัมพูชาส่งออกข้าวไปยัง 51 ประเทศ เป็นจำนวน 342,045 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเพียงร้อยละ 0.1
          ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
 
           ไนจีเรีย
           สำนักข่าว Reuters รายงานว่า รัฐบาลไนจีเรียจะปิดพรมแดนทางตะวันตกบางส่วนที่ติดกับประเทศเบนิน เพื่อควบคุมการลักลอบขนข้าวซึ่งกำลังคุกคามความพยายามของประเทศในการเร่งการผลิตในประเทศ ซึ่งรัฐบาลต้องการให้ไนจีเรียมีข้าวที่พอเพียง จึงกำหนดมาตรการควบคุมการนำเข้า
           ทั้งนี้ ประธานาธิบดี Muhammadu Buhari ได้นำนโยบายเข้มงวดการนำเข้าข้าวมาใช้ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในปี 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการนำเข้าเพื่อกระตุ้นการผลิตในประเทศ และเพื่อเพิ่มทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ นอกจากนี้ ประธานาธิบดียังกล่าวอีกว่า จะมีการประชุมกับประเทศเบนินและ ไนเจอร์ประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของไนจีเรีย เพื่อกำหนดมาตรการในการตรวจสอบการลักลอบขนข้าวข้าม ชายแดน ซึ่งรัฐบาลระบุว่าการนำเข้าข้าวและข้าวสาลีของไนจีเรียมีมูลค่าประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ขณะที่ประชาชนกว่า 190 ล้านคน พึ่งพาการนำเข้าข้าวเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากความสามารถในการผลิตข้าวมีจำกัด และเมื่อต้นเดือนที่แล้ว ได้สั่งการธนาคารกลางให้หยุดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสำหรับการนำเข้าสินค้าอาหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตรของประเทศ
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.37 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.76 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.99 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.43 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.40 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 301.80 ดอลลาร์สหรัฐ (9,164 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 306.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,296 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 และลดลง   ในรูปของเงินบาทตันละ 132 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 359.64 เซนต์ (4,359 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 359.00 เซนต์ (4,352 บาท/ตัน)  ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 7 บาท
 

 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.70 ล้านไร่ ผลผลิต 31.43 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.62 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.44 ร้อยละ 7.01 และร้อยละ 2.55 ตามลำดับ โดยเดือนกันยายน 2562
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.71 ล้านตัน (ร้อยละ 2.26 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.06 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตจึงออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้หัวมันสำปะหลังมีเชื้อแป้งค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.72 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.75 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.71
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.82 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 4.87 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.03
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.56 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.59 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.46
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.19 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.45
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,075 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 238 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,226 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.10
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 455 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,815 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,814 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน
 
 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
          รายงานการนำเข้าน้ำตาลของสหภาพยุโรป
          สหภาพยุโรปได้ออกใบอนุญาตนำเข้าน้ำตาลจำนวน 4,664 ตัน (tel quel) ตามสัญญา EPA / EBA ในสัปดาห์ที่ 8 กันยายน 2562 ลดลงจาก 36,830 ตัน ในสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมปริมาณนำเข้าน้ำตาลทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตในปี 2561/2562 (ตุลาคม-กันยายน) อยู่ที่ 1,008,764 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 517,487 ตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยนำเข้าจาก สวาซิแลนด์ 274,646 ตัน มอริเชียส 195,269 ตัน และเบลีซ 180,382 ตัน


 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา               
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 847.24 เซนต์ (9.58 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 856.35 เซนต์ (9.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.06
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 290.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8.96 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 289.55 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8.92 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.45
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.57 เซนต์ (19.39 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.69 เซนต์ (19.47 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.42

 
 

 
ยางพารา

ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 39.75 บาท/กิโลกรัม 
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.21 บาท ลดลงจาก 39.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.36 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.71 บาท ลดลงจาก 38.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.36
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.21 บาท ลดลงจาก 38.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.37
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.55 บาท ลดลงจาก 17.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.08 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.45
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.59 บาท ลดลงจาก 15.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.03 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.19
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.23 บาท เพิ่มขึ้นจาก 35.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.94 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.66
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนตุลาคม 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.30 บาท เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.15 บาท เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.54 บาท เพิ่มขึ้นจาก 41.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.75 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.79
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.19 บาท เพิ่มขึ้นจาก 33.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.45
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.05 บาท เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.90 บาท เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.29 บาท เพิ่มขึ้นจาก 41.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.75 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.81
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.94 บาท เพิ่มขึ้นจาก 32.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.46
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.74 เซนต์สหรัฐฯ (46.68 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 150.54 เซนต์สหรัฐฯ (45.70 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 3.20 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.13
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.10 เยน (46.30 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 160.68 เยน (45.53 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 4.42 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75


 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.31 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 20.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 27.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74
 ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 15.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,016.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.87 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ
1,020.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 918.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.87บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 920.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 918.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.87 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 927.40 ดอลลาร์สหรัฐ (28.16 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.29 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 521.60 ดอลลาร์สหรัฐ (15.84 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 530.00 ดอลลาร์สหรัฐ (16.09 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.25 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,076.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.68 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,079.80 ดอลลาร์สหรัฐ (32.78 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท

 
 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.72 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 6.52
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 3.31
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย
 
          1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 59.72 (กิโลกรัมละ 40.54 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 58.73 (กิโลกรัมละ 39.86 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.68 บาท
 

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,730 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,720 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.58
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,395 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,389 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.43
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 807 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 843 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 4.27

 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้  ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่  ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรอ่อนตัวลงเล็กน้อย จากบางพื้นที่มีฝนตกและมีน้ำท่วมขัง ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยไม่คล่องตัว  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  66.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.85 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 70.28 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 62 บาท) ลดลงจากตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 60 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.67
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.50 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 2.56

 
ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่  ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.82 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.60 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  35.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.39 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้ตลาดไข่ไก่ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการปรับผลผลิตไข่ไก่ทั้งระบบให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค โดยความร่วมมือทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรผู้เลี้ยงไข่ไก่ ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 291 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 288 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 297 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 293 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00  บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ  331  บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 338 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 333 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.50  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 316 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 373 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.88

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.34 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.85 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.00 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.86  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.97 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 – 12 กันยายน 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 37.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 83.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.65 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 136.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.03 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 126.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.84 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.19 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 13.49 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 160.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 155.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.04 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% เฉลี่ยสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา